เมนู

กระติกน้ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ 3 อย่าง คือ กระติก
โลหะ กระติกไม้ กระติกผลไม้. ภาชนะน้ำ 3 อย่าง คือ คนโทน้ำ ขันทอง
ห้าว หม้อตักน้ำ อนุโลมกระติกน้ำ 3 อย่างนั้นแล. แต่ในกุรุนทีแก้ว่า สังข์
สำหรับใส่น้ำฉัน และขันน้ำ อนุโลมแก่กระติกเหล่านั้น.
ประคดเอวทรงอนุญาตไว้ 2 ชนิด คือ ประคดทอเป็นแผ่น ประคด
ไส้สุกร ประคดเอวที่ทำด้วยผืนผ้า และด้วยเชือกอนุโลมประคด 2 ชนิดนั้น
ร่มทรงอนุญาตไว้ 3 ชนิด คือ ร่มขาว ร่มรำแพน ร่มใบไม้, ร่ม
ใบไม้ใบเดียว อนุโลมตามร่ม 3 ชนิดนั้นเอง; แม้ของอื่น ๆ ที่เข้ากับสิ่งที่
ควรและไม่ควร ผู้ปฏิบัติพึงพิจารณาดูบาลีและอรรถกถาแล้วทราบตามนัยนี้
เถิด.

ว่าด้วยกาลิกระคนกัน


คำว่า ตทหุปฏิคฺคหิตํ ถาเล กปฺปติ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายเอารสที่เจือกันทุกอย่าง. ก็ถ้าน้ำปานะเป็นของที่รับประเคนปนกับ
มะพร้าวทั้งผล ยังไม่ได้ปอกเปลือก เอามะพร้าวออกเสียแล้ว น้ำปานะนั้น
ควรแม้ในเวลาวิกาล.
พวกทายกถวายข้าวปายาสเย็น วางก้อนสัปปิไว้ข้างบน เนยใสใครไม่
ปนกับข้าวปายาส จะเอาเนยใสนั้นออกไว้ฉัน 7 วันก็ควร.
แม้ในสัตตาหกาลิกที่เหลือ มีน้ำผึ้งและน้ำตาลที่เป็นแท่งเป็นต้น ก็นัย
นี้แล.
พวกทายกถวายบิณฑบาต ประดับด้วยกระวานและลูกจันทน์เป็นต้น
บ้าง กระวานและลูกาจันทน์เป็นต้นนั้น พึงยกออกล้างไว้ฉันได้ตลอดชีวิต ใน
ขิงที่เขาใส่ในยาคูถวายเป็นต้นก็ดี. ในชะเอมที่เขาใส่แม้ในน้ำเป็นอาทิ แล้ว
ถวายเป็นต้น ก็ดี มีนัยเหมือนกันแล.

กาลิกใด ๆ เป็นของมีรสระคนปนกันไม่ได้อย่างนั้น กาลิกนั้น ๆ แม้
รับประเคนรวมกัน; ล้างหรือปอกเสียจนบริสุทธิ์แล้วฉัน ด้วยอำนาจแห่งกาล
ของกาลิกนั้น ๆ ย่อมควร. แต่ถ้ากาลิกใดเป็นของมีรสแทรกกันได้ ปนกัน
ได้ กาลิกนั้น ย่อมไม่ควร.
จริงอยู่ ยาวกาลิกย่อมชักกาลิกทั้ง 3 มียามกาลิกเป็นต้น ซึ่งมีรส
เจือกับตน เข้าสู่สภาพของตน ถึงยามกาลิก ก็ชักกาลิก แม้ 2 มีสัตตาห
กาลิกเป็นต้น เข้าสู่สภาพของตน สัตตาหกาลิกเล่า ย่อมชักยาวชีวิกที่ระคน
เข้ากับตน เข้าสู่สภาพของตนเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบสันนิษฐาน
ว่า ยาวชีวิกที่รับประเคนในวันนั้นก็ดี รับประเคนในวันก่อน ๆ ก็ดี ปนกับ
สัตตาหกาลิกนั้น ซึ่งรับประเคนในวันนั้น ควรเพียง 7 วัน ปนกับสัตตาห
กาลิกที่รับประเคนไว้ 2 วัน ควรเพียง 6 วัน ปนกับสัตตาหกาลิกที่รับประ-
เคนไว้ 3 วัน ควรเพียง 5 วัน ปนกับสัตตาหกาลิกที่รับประเคนไว้ 7 วัน
ควรในวันนั้นเท่านั้น ก็เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ยาวชีวิกที่รับประเคนในวันนั้น ปนกับสัตตาหกาลิก ควร 7 วัน
ตรัสว่า ยาวชีวิกที่รับประเคนแล้ว คือปนกับสัตตาหกาลิก ควร 7 วัน ก็
เมื่อกาลิก 3 นี้ก้าวล่วงกาล ยาม และ 7 วัน พึงทราบอาบัติด้วยอำนาจวิกาล
โภชนสิกขาบท สันนิธิสิกขาบท และเภสัชชสิกขาบท.
ก็แล ในกาลิก 4 นี้ กาลิก 2 คือ ยาวกาลิก 1 ยามกาลิก 1 นี้
เท่านั้น เป็นอันโตวุตถะด้วย เป็นสันนิธิการกะด้วย: แค่สัตตาหกาลิกและยาว
ชีวิก แม้จะเก็บไว้ในอกัปบียกุฏิ ก็ควร. ทั้งไม่ให้เกิดสันนิธิด้วย ดังนี้แล.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

อรรถกถาเภสัชชขันธกะ จบ

กฐินขันธกะ


ภิกษุปาไฐยรัฐเดินทางเข้าเฝ้า


[95] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเขตวันอาราม
ของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุปาไฐยรัฐจำนวน
30 รูป ล้วนถืออารัญญิกธุดงค์ บิณปาติกธุดงค์ และเตจีวริกธุดงค์ เดิน
ทางไปพระนครสาวัตถุเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจวนถึงวันเข้าพูดพรรษา
ไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถี จึงจำพรรษา ณ
เมืองสาเกต ในระหว่างทาง ภิกษุเหล่านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้ ๆ เรา ระยะทางห่างเพียง 6 โยชน์ แต่พวกเราก็
ไม่ได้เฝ้าพระองค์ ครั้นล่วงไตรมาส ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาทำปวารณา
เสร็จแล้ว เมื่อฝนยังตกชุก พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ เป็นหล่มเลน มีจีวร
ชุ่มชื้นด้วยน้ำ ลำบากกาย เดินทางไปถึงพระนครสาวัตถี พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกคหบดี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง.
การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศัยกับพระอาคันทุกะทั้ง
หลายนั่นเป็นพุทธประเพณี.

พุทธประเพณี


ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอยังพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอ
เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่
ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ ?